Remind Clinic
  • หน้าแรก
  • ที่มาของรีมายด์
  • บริการของเรา
  • นักจิตวิทยาคลินิก
  • ความรู้สุขภาพจิต
  • ติดต่อเรา

ความรู้สุขภาพจิต

นี่เราเศร้า หรือเป็นโรคซึมเศร้า???

11/10/2024

0 Comments

 
        ความเศร้า หรือ รู้สึกเศร้า (Sadness) เป็นความรู้สึกทั่วไปของมนุษย์ทุกคนที่ต้องเผชิญตลอดช่วงชีวิต ความรู้สึกเศร้าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อเราเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเสียใจหรือเจ็บปวด ซึ่งระดับของความเศร้าก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เราเจอ แต่อารมณ์ความรู้สึกเศร้าก็เป็นเหมือนความรู้สึกอื่นๆ คือ มันเกิดขึ้น และจะหายไปตามเวลา ดังนั้น ความรู้สึกเศร้าจึงต่างจากโรคซึมเศร้า
        โรคซึมเศร้า (Depressive disorder) นั้น เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจที่กลืนกินความสุข และส่งผลให้ความสามารถในการทำงาน, การเรียน และการใช้ชีวิตประจำของคนๆนึงแย่ลงได้ ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ 

อาการ    
        
เมื่อเวลาที่คุณเศร้า คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองเศร้ามาก แต่ก็จะมีช่วงที่คุณรู้สึกผ่อนคลายหรือสามารถหัวเราะได้ นั่นเป็นข้อแตกต่างจากคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะเค้าเหล่านั้นจะรู้สึกว่าตนเองเศร้าตลอดเวลา หรือมีความคิดว่าชีวิตนี้ไม่สามารถมีความสุขได้อีกแล้ว แม้กระทั่งกิจกรรมที่เคยชอบทำก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นโรคซึมเศร้าจึงนับเป็นโรค ไม่ใช่ความรู้สึก เพราะมันเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งอารมณ์,ความคิด และพฤติกรรม


อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
  1. ซึมเศร้าโดยมีอาการเป็นเกือบทั้งวัน
  2. ความสนใจหรือความเพลินใจในสิ่งต่างๆ ลดลงอย่างมาก 
  3. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  4. เบื่ออาหาร นำหนักลด หรือกินจุ น้ำหนักเพิ่ม 
  5. นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ
  6. สมาธิลดลง ลังเลใจ
  7. มีความคิดที่จะตาย หรือมีความพยายามหรือวางแผนการฆ่าตัวตาย
  8. รู้สึกตนเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิดอย่างไม่สมเหตุสมผล
  9. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง

***โดยมีอาการเหล่านี้ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมาณ หรือทำให้การประกอบอาชีพ, การเรียน, การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญบกพร่องลงอย่างชัดเจน 

สาเหตุ    
     
โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และทุกช่วงวัย ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เกิดได้จากหลายปัจจัยโดยแบ่งเป็น ปัจจัยทางชีวภาพ คืออาจเกิดทั้งจากด้านกรรมพันธุ์, การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง, ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ, ความผิดปกติทางประสาทสรีรวิทยา หรือ ปัจจัยทางด้านจิตสังคม  เหตุการณ์ในชีวิตและควาามเครียดจากสิ่งแวดล้อมบางอย่าง เช่น การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึงลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพ ก็ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้


การรักษา  
 
การรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ดังนี้
  1. การรักษาด้วยยา 
  2. การรักษาด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy : ECT) 
  3. จิตบำบัด 
           จิตบำบัดที่ได้ผลดีใน Depressive Disorder ได้แก่
    1)  Cognitive behavior therapy (CBT)
    2)  Interpersonal therapy
    3) Short-term psychodynamic psychotherapy 

​
"The differences between depression and sadness."
Picture
AUTHOR
ลีลาวดี ลีลาพัดชากุล
นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและวัยรุ่น
0 Comments



Leave a Reply.

    ผู้เขียน

    นักจิตวิทยาคลินิกจากรีมายด์

    Archives

    January 2025
    October 2024
    September 2023
    June 2023
    May 2023
    March 2023

    Categories

    All

    RSS Feed


​Your Mental Health Matters


เวลาทำการ

Mon-Sun: 10.00 - 20.00

โทรศัพท์

086-441-5254

Line Official

เพิ่มเพื่อน
  • หน้าแรก
  • ที่มาของรีมายด์
  • บริการของเรา
  • นักจิตวิทยาคลินิก
  • ความรู้สุขภาพจิต
  • ติดต่อเรา