Remind Clinic
  • หน้าแรก
  • ที่มาของรีมายด์
  • บริการของเรา
  • นักจิตวิทยาคลินิก
  • ความรู้สุขภาพจิต
  • ติดต่อเรา

ความรู้สุขภาพจิต

3 วิธีจัดการกับลูกน้อยอาละวาด

29/3/2023

0 Comments

 
ลูกน้อยอาละวาด (Temper tantrum) คือการร้องอาละวาด โวยวาย ล้มตัว ชักดิ้นชักงอ เป็นการแสดงความโกรธหรือไม่พอใจของเด็ก Tantrum เป็นพัฒนาการปกติของเด็ก บางคนอาจเป็นมากหรือน้อย แตกต่างกัน ซึ่งมักพบได้บ่อยหลัง 1 ขวบ จะพบมากขึ้นเมื่ออายุ 2-3 ปี (หรือที่เรียกกันว่า Terrible 2) และส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นหลังอายุ 4 ปี

สาเหตุของการ Tantrum หรือ อาละวาด มักเกิดมาจากการไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่สื่อสารสิ่งที่ต้องการออกมาไม่ได้ หรือพยายามจะสื่อสารแล้วแต่ผู้ปกครองไม่เข้าใจ ซึ่งเกิดจากพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น ที่ยังพูดไม่คล่อง เช่น ต้องการนม, อยากเปลี่ยนแพมเพิส, เหนื่อยหรือง่วงมากเกินไป, อยากให้พ่อแม่สนใจทันที, อยากให้พี่มาเล่นด้วย เป็นต้น 

ในเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อยราว 3-4 ปี วัยก่อนเรียนที่สามารถสื่อสารได้ บอกความต้องการของตนเองได้ ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะเลิกอาละวาด เพราะเป็นช่วงวัยที่เด็กรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มีอำนาจ รู้และยืนหยัดว่าตนเองต้องการอะไร

อย่างไรก็ตามเด็กยังต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์หงุดหงิด ซึ่งการเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น เป็นทักษะที่ต้องใช้เวลา และผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการฝึกทักษะด้วย 

จำไว้เสมอว่าการที่ ”เด็กเล็ก” อาละวาดหงุดหงิด ไม่ใช่การบอกว่าคุณเป็นผู้ปกครองที่แย่ แต่มันเป็นขั้นของพัฒนาการ   ดังที่ Linda Rubinowitz นักจิตวิทยาคลินิก กล่าวไว้ "Tantrums help kids learn to deal with their negative emotions.”

สิ่งที่ควรทำเมื่อเด็กร้องอาละวาด

สิ่งแรกที่ควรทำคือ ตั้งสติ ก่อน ไม่ควรดุ หรือตำหนิทันที เพราะยิ่งจะทำให้เด็กอาละวาดรุนแรงขึ้น จากนั้นให้ประเมินว่าสาเหตุที่เด็กอาละวาดเกิดจากอะไร เช่น บางครั้งคุณต้องเตรียมของกินหรือที่นอนให้พร้อม เวลาเด็กหิวหรือง่วงนอน แต่หากเด็กอาละวาดจากเรื่องอื่นๆ สิ่งที่ควรทำได้แก่
  1. การใช้วิธีเมินเฉย โดยให้เด็กอยู่ในมุมที่สงบและปลอดภัย โดยผู้ปกครองควรอยู่ในระยะที่มองเห็นได้ จนกว่าเด็กจะสงบลง ยกเว้นในกรณีที่เด็กเริ่มมีการทำร้ายร่างกายตัวเอง คนอื่นหรือสิ่งของ ผู้ปกครองต้องเข้าไปกอดจากด้านหลัง รวบแขนขา และศรีษะเพื่อกันการกระแทก พร้อมบอกว่า “หนูโกรธได้ แต่ไม่ทำแบบนี้ได้”
  2. ใช้วิธีเบนความสนใจของเด็ก ให้ไปทำอย่างอื่นแทน แต่ไม่ใช่การยอมทำตามที่เด็กต้องการ อาจจะชวนให้ไปวิ่งเล่น  ฟังเพลง หรือไปทำกิจกรรมใดที่ชอบแทน เนื่องจากการตามใจหรือตอบสนองเด็กเวลาร้องอาละวาด เด็กจะเข้าใจว่า ถ้าอาละวาดแล้วได้ผล เด็กจะทำอีก
  3. จัดอุปกรณ์หรือพื้นที่ระบายความโกรธที่ปลอดภัย เช่น ขยำบีบลูกบอล, ขีดเขียนระบายสีระบายความโกรธ, ขยำกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว หรือปาลูกบอลในที่ที่ปลอดภัย
    
สิ่งที่ควรทำหลังจากเด็กร้องอาละวาด

​เมื่อเด็กเริ่มสงบลงให้เข้าไปกอด ถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนอารมณ์ เพื่อให้เด็กเข้าใจอารมณ์ของตนเองมากขึ้น แล้วชื่นชมเด็กว่า “ดีใจที่หนูจัดการอารมณ์ตัวเองได้นะ”

จำไว้เสมอว่าการที่ ”เด็กเล็ก” อาละวาดหงุดหงิด ไม่ใช่การบอกว่าคุณเป็นผู้ปกครองที่แย่ แต่มันเป็นขั้นของพัฒนาการ 
Picture


Author

ลีลาวดี ลีลาพัดชากุล
นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและวัยรุ่น
​

0 Comments



Leave a Reply.

    ผู้เขียน

    นักจิตวิทยาคลินิกจากรีมายด์

    Archives

    January 2025
    October 2024
    September 2023
    June 2023
    May 2023
    March 2023

    Categories

    All

    RSS Feed


​Your Mental Health Matters


เวลาทำการ

Mon-Sun: 10.00 - 20.00

โทรศัพท์

086-441-5254

Line Official

เพิ่มเพื่อน
  • หน้าแรก
  • ที่มาของรีมายด์
  • บริการของเรา
  • นักจิตวิทยาคลินิก
  • ความรู้สุขภาพจิต
  • ติดต่อเรา