ลักษณะเด่น : - หลงตนเองคิดว่าตนเองสำคัญกว่าใคร และอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์ - พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เกณฑ์วินิจฉัย ***โดยต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 5 ข้อขึ้นไป*** (1) มีความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญมาก และพิเศษว่าคนอื่น ควรค่าต่อการชื่นชม เยินยอ และมีความรู็สึกต้องการแข่งขัน และเป็นที่หนึ่งเสมอ (เช่น คิดว่าตนเองมีความสำเร็จหรือความสามารถพิเศษมากเกินความเป็นจริง คาดหวังที่จะได้รับการยอมรับว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่นโดยอาจจะไม่ได้มีความสำเร็จถึงระดับนั้น) (2) มักมีความคิด และจมอยู่กับความคิดเพ้อฝัน, จินตนาการว่าตนเองต้องประสบความสำเร็จ และใช้ชีวิตหรือมีค่านิยมความคิดหวังที่ตนเองมี (3) เชื่อว่าตนเอง “พิเศษ” ผิดจากใครๆ และ ควรต้องคบหาแต่กับคนที่พิเศษ และเก่งเหมือนตน หรือโด่งดัง ในบางครั้งจะชอบคบหากับบุคคลที่มีความอ่อนโยน จิตใจดี มีความเห็นอกเห็นใจ เพราะบุคคลเหล่านี้ มักคล้อยตามตนได้ง่าย ไม่เกรี้ยวกราด และแข็งข้อต่อตน ถ้าเจอคนที่เก่งกว่าก็อาจจะไปเหน็บแนม ดึงให้คนนั้นต่ำลง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น (4) ต้องการการชื่นชมเยินยออย่างมาก ตลอดเวลา (5) รู้สึกว่าตนเองมีสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น ได้แก่ คาดหวังอย่างไม่มีเหตุผลที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ หรือให้ผู้อื่นปฏิบัติไปตามที่ตนเองหวังไว้ (6) มักเอาเปรียบผู้อื่น และแสวงผลประโยชน์จากสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ ใช้ประโยชน์จากผู้อื่นเพื่อให้ตนเองได้ในสิ่งที่ตนหวัง (7) มักขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นที่บกพร่อง จะเห็นใจก็ต่อเมื่อ เป็นสิ่งที่คู่ควรกับเค้า หรือเป็นสิ่งที่เค้าชื่นชอบ หรือรัก แต่ยังมี Cognitive empathy แต่ขาด Emotional empathy คือสามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจได้ รู้ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร ในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อรักษาความเป็นคนที่น่านับถือ น่าชื่นชมเอาไว้ ต่างจาก Sociopath หรือ Psychopath ที่ไม่สนว่าคนอื่นคิดอย่างไร (8) มักอิจฉาผู้อื่น หรือเชื่อว่าผู้อื่นอิจฉาตนเอง (9) มีท่าทีหรือพฤติกรรมแบบหยิ่งยะโส ถือตัว **NPD อาจจะดูมี high self-confident แต่ลึกๆภายในมักจะมี Low self-esteem สิ่งที่สร้างปัญหา - การไม่สนใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น - พฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์กับผู้อื่น - มักมีปัญหาการโกหก/หลอกลวง - มักไวต่อคำวิจารณ์ เกิดผลกระทบต่ออารมณ์จิตใจได้ง่าย - เมื่อชีวิตพบกับความเสื่อมถอย ทั้งจากกาลเวลา/หรือปัจจัยอื่นๆ อาจนำมาซึ่งวิกฤติในชีวิตและภาวะซึมเศร้าได้ การรักษา - จิตวิเคราะห์ หรือจิตบำบัดประคับประคอง - ยา มักให้เพื่อประคับประคองอาการที่อาจเกิดขึ้น เช่น อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล AUTHOR
ลีลาวดี ลีลาพัดชากุล นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและวัยรุ่น
0 Comments
ความเศร้า หรือ รู้สึกเศร้า (Sadness) เป็นความรู้สึกทั่วไปของมนุษย์ทุกคนที่ต้องเผชิญตลอดช่วงชีวิต ความรู้สึกเศร้าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อเราเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเสียใจหรือเจ็บปวด ซึ่งระดับของความเศร้าก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เราเจอ แต่อารมณ์ความรู้สึกเศร้าก็เป็นเหมือนความรู้สึกอื่นๆ คือ มันเกิดขึ้น และจะหายไปตามเวลา ดังนั้น ความรู้สึกเศร้าจึงต่างจากโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า (Depressive disorder) นั้น เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจที่กลืนกินความสุข และส่งผลให้ความสามารถในการทำงาน, การเรียน และการใช้ชีวิตประจำของคนๆนึงแย่ลงได้ ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาการ เมื่อเวลาที่คุณเศร้า คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองเศร้ามาก แต่ก็จะมีช่วงที่คุณรู้สึกผ่อนคลายหรือสามารถหัวเราะได้ นั่นเป็นข้อแตกต่างจากคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะเค้าเหล่านั้นจะรู้สึกว่าตนเองเศร้าตลอดเวลา หรือมีความคิดว่าชีวิตนี้ไม่สามารถมีความสุขได้อีกแล้ว แม้กระทั่งกิจกรรมที่เคยชอบทำก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นโรคซึมเศร้าจึงนับเป็นโรค ไม่ใช่ความรู้สึก เพราะมันเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งอารมณ์,ความคิด และพฤติกรรม อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
***โดยมีอาการเหล่านี้ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมาณ หรือทำให้การประกอบอาชีพ, การเรียน, การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญบกพร่องลงอย่างชัดเจน สาเหตุ โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และทุกช่วงวัย ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เกิดได้จากหลายปัจจัยโดยแบ่งเป็น ปัจจัยทางชีวภาพ คืออาจเกิดทั้งจากด้านกรรมพันธุ์, การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง, ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ, ความผิดปกติทางประสาทสรีรวิทยา หรือ ปัจจัยทางด้านจิตสังคม เหตุการณ์ในชีวิตและควาามเครียดจากสิ่งแวดล้อมบางอย่าง เช่น การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึงลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพ ก็ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ การรักษา การรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ดังนี้
1) Cognitive behavior therapy (CBT) 2) Interpersonal therapy 3) Short-term psychodynamic psychotherapy "The differences between depression and sadness." AUTHOR
ลีลาวดี ลีลาพัดชากุล นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและวัยรุ่น |
ผู้เขียนนักจิตวิทยาคลินิกจากรีมายด์ Archives
January 2025
Categories |