ลักษณะเด่น : - หลงตนเองคิดว่าตนเองสำคัญกว่าใคร และอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์ - พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เกณฑ์วินิจฉัย ***โดยต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 5 ข้อขึ้นไป*** (1) มีความรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญมาก และพิเศษว่าคนอื่น ควรค่าต่อการชื่นชม เยินยอ และมีความรู็สึกต้องการแข่งขัน และเป็นที่หนึ่งเสมอ (เช่น คิดว่าตนเองมีความสำเร็จหรือความสามารถพิเศษมากเกินความเป็นจริง คาดหวังที่จะได้รับการยอมรับว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่นโดยอาจจะไม่ได้มีความสำเร็จถึงระดับนั้น) (2) มักมีความคิด และจมอยู่กับความคิดเพ้อฝัน, จินตนาการว่าตนเองต้องประสบความสำเร็จ และใช้ชีวิตหรือมีค่านิยมความคิดหวังที่ตนเองมี (3) เชื่อว่าตนเอง “พิเศษ” ผิดจากใครๆ และ ควรต้องคบหาแต่กับคนที่พิเศษ และเก่งเหมือนตน หรือโด่งดัง ในบางครั้งจะชอบคบหากับบุคคลที่มีความอ่อนโยน จิตใจดี มีความเห็นอกเห็นใจ เพราะบุคคลเหล่านี้ มักคล้อยตามตนได้ง่าย ไม่เกรี้ยวกราด และแข็งข้อต่อตน ถ้าเจอคนที่เก่งกว่าก็อาจจะไปเหน็บแนม ดึงให้คนนั้นต่ำลง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น (4) ต้องการการชื่นชมเยินยออย่างมาก ตลอดเวลา (5) รู้สึกว่าตนเองมีสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น ได้แก่ คาดหวังอย่างไม่มีเหตุผลที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ หรือให้ผู้อื่นปฏิบัติไปตามที่ตนเองหวังไว้ (6) มักเอาเปรียบผู้อื่น และแสวงผลประโยชน์จากสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้แก่ ใช้ประโยชน์จากผู้อื่นเพื่อให้ตนเองได้ในสิ่งที่ตนหวัง (7) มักขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจคนอื่นที่บกพร่อง จะเห็นใจก็ต่อเมื่อ เป็นสิ่งที่คู่ควรกับเค้า หรือเป็นสิ่งที่เค้าชื่นชอบ หรือรัก แต่ยังมี Cognitive empathy แต่ขาด Emotional empathy คือสามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจได้ รู้ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร ในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อรักษาความเป็นคนที่น่านับถือ น่าชื่นชมเอาไว้ ต่างจาก Sociopath หรือ Psychopath ที่ไม่สนว่าคนอื่นคิดอย่างไร (8) มักอิจฉาผู้อื่น หรือเชื่อว่าผู้อื่นอิจฉาตนเอง (9) มีท่าทีหรือพฤติกรรมแบบหยิ่งยะโส ถือตัว **NPD อาจจะดูมี high self-confident แต่ลึกๆภายในมักจะมี Low self-esteem สิ่งที่สร้างปัญหา - การไม่สนใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น - พฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์กับผู้อื่น - มักมีปัญหาการโกหก/หลอกลวง - มักไวต่อคำวิจารณ์ เกิดผลกระทบต่ออารมณ์จิตใจได้ง่าย - เมื่อชีวิตพบกับความเสื่อมถอย ทั้งจากกาลเวลา/หรือปัจจัยอื่นๆ อาจนำมาซึ่งวิกฤติในชีวิตและภาวะซึมเศร้าได้ การรักษา - จิตวิเคราะห์ หรือจิตบำบัดประคับประคอง - ยา มักให้เพื่อประคับประคองอาการที่อาจเกิดขึ้น เช่น อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล AUTHOR
ลีลาวดี ลีลาพัดชากุล นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและวัยรุ่น
0 Comments
ความเศร้า หรือ รู้สึกเศร้า (Sadness) เป็นความรู้สึกทั่วไปของมนุษย์ทุกคนที่ต้องเผชิญตลอดช่วงชีวิต ความรู้สึกเศร้าเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อเราเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเสียใจหรือเจ็บปวด ซึ่งระดับของความเศร้าก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เราเจอ แต่อารมณ์ความรู้สึกเศร้าก็เป็นเหมือนความรู้สึกอื่นๆ คือ มันเกิดขึ้น และจะหายไปตามเวลา ดังนั้น ความรู้สึกเศร้าจึงต่างจากโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า (Depressive disorder) นั้น เป็นความเจ็บป่วยทางจิตใจที่กลืนกินความสุข และส่งผลให้ความสามารถในการทำงาน, การเรียน และการใช้ชีวิตประจำของคนๆนึงแย่ลงได้ ซึ่งอาการของโรคซึมเศร้าอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาการ เมื่อเวลาที่คุณเศร้า คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองเศร้ามาก แต่ก็จะมีช่วงที่คุณรู้สึกผ่อนคลายหรือสามารถหัวเราะได้ นั่นเป็นข้อแตกต่างจากคนที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะเค้าเหล่านั้นจะรู้สึกว่าตนเองเศร้าตลอดเวลา หรือมีความคิดว่าชีวิตนี้ไม่สามารถมีความสุขได้อีกแล้ว แม้กระทั่งกิจกรรมที่เคยชอบทำก็ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นโรคซึมเศร้าจึงนับเป็นโรค ไม่ใช่ความรู้สึก เพราะมันเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งอารมณ์,ความคิด และพฤติกรรม อาการของโรคซึมเศร้า มีดังนี้
***โดยมีอาการเหล่านี้ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทุกข์ทรมาณ หรือทำให้การประกอบอาชีพ, การเรียน, การเข้าสังคม หรือหน้าที่ด้านอื่นที่สำคัญบกพร่องลงอย่างชัดเจน สาเหตุ โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และทุกช่วงวัย ปัจจุบันแนวคิดเกี่ยวกับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น เกิดได้จากหลายปัจจัยโดยแบ่งเป็น ปัจจัยทางชีวภาพ คืออาจเกิดทั้งจากด้านกรรมพันธุ์, การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง, ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ, ความผิดปกติทางประสาทสรีรวิทยา หรือ ปัจจัยทางด้านจิตสังคม เหตุการณ์ในชีวิตและควาามเครียดจากสิ่งแวดล้อมบางอย่าง เช่น การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ รวมถึงลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพ ก็ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้ การรักษา การรักษาโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ดังนี้
1) Cognitive behavior therapy (CBT) 2) Interpersonal therapy 3) Short-term psychodynamic psychotherapy "The differences between depression and sadness." AUTHOR
ลีลาวดี ลีลาพัดชากุล นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและวัยรุ่น จิตบำบัด (psychotherapy) คืออะไรนิยามที่สมาคมนักจิตวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (American Psychological Association) ให้ไว้ คือการประยุกต์ใช้หลักการทางจิตวิทยาในเชิงคลินิก ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือให้ผู้รับบริการสามารถปรับกระบวนการคิด อารมณ์ พฤติกรรม และลักษณะส่วนบุคคลที่เป็นปัญหาไปในทิศทางที่ผู้รับบริการต้องการ ต้องเข้ารับการบำบัดกี่ครั้งเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบตายตัว แม้ว่าจะมีการวางแนวทางไว้ในบางรูปแบบของการทำจิตบำบัด เช่น การบำบัดแบบ CBT สำหรับโรคซึมเศร้า มักจะใช้เวลาประมาณ 6-8 sessions เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม แต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถที่จะตอบได้แน่ชัดเพราะมีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความรุนแรงของอาการ ความสม่ำเสมอในการเข้ารับการบำบัด ความต่อเนื่องในการทำการบ้านที่ได้รับมอบหมาย เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นในชีวิตระหว่างการทำบำบัด รวมถึงการตัดสินใจยุติการบำบัดของผู้รับบริการด้วย ต้องกินยาร่วมกับการทำจิตบำบัดหรือไม่มีงานวิจัยมากมายที่สรุปว่าการทำจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยาส่งผลดีกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียวหรือการทำจิตบำบัดเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะโรคและความรุนแรงของโรค ซึ่งในบางครั้งการทำจิตบำบัดอย่างเดียวอาจจะเพียงพอต่อการรักษา บางครั้งการใช้ยาร่วมด้วยอาจทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษานักบำบัดของท่านเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม หากกินยาแล้วมีอาการแพ้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่เป็นผู้จ่ายยาให้โดยตรง โดยอธิบายถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นและผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต หากมีผลข้างเคียงจากการใช้ยามาก สามารถขอปรึกษาก่อนเวลานัดได้ หากยาหมด ก็สามารถขอพบแพทย์เพื่อรับยาก่อนเวลานัดได้ ที่สำคัญอย่าหยุดยาเองเป็นอันขาด ปัจจุบันมีนักบำบัดมากมายที่เปิดให้บริการทำจิตบำบัด ควรพิจารณาจากอะไร อย่างแรกเลย คือ พิจารณาที่คุณสมบัติของนักบำบัด เช่น ในด้านการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการควรมีใบประกอบโรคศิลปะ หรือใบประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง แต่ในท้ายที่สุด ผู้รับบริการควรพิจารณาเลือกนักบำบัดจากความรู้สึกของตนเอง เช่น สบายใจที่ได้มาคุยเพราะไม่รู้สึกว่าถูกตัดสินโดยนักบำบัด หรือได้แนวคิดใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ เป็นต้น authorผศ. บุรชัย อัศวทวีบุญ สิ่งสำคัญคือเราต้องเห็นความสำคัญของการยอมรับความจริง ซึ่งไม่ใช่การไม่ต่อต้าน หรือยอมตามยถากรรม แต่เป็นการยอมรับเพื่อเป็นจุดเริ่มให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อสถานการณ์ในรูปแบบใหม่ การยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก ต้องอาศัยการฝึกฝนจนกลายเป็นทักษะใหม่ แนวคิดของการบำบัดที่พูดถึงเรื่องของการฝึกทักษะในการยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น คือ Dialectical Behavior Therapy (DBT) ซึ่งเป็นแนวคิดที่พัฒนาต่อมาจากแนวคิด Cognitive Behavioral Therapy (CBT) DBT เสนอว่าการจะยอมรับได้นั้น ต้องฝึกที่จะไม่ตัดสินและขยายความ ไม่ตัดสินในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งความคิดและอารมณ์ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการฝึกทักษะการมีสติ (Mindfulness skill) ที่เน้นเรื่องของการจดจ่อ (Focus) และการยอมรับ (Acceptance) ด้วย ขั้นตอนในการฝึกการยอมรับความจริงที่คุณ Sheri Van Dijk นักจิตบำบัดได้อธิบายไว้ให้ทำตามได้ คือ
สิ่งสำคัญคือการยอมรับในปัจจุบัน ไม่ใช่ในอนาคต เพราะการยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราในปัจจุบัน ไม่ใช่ที่จะเกิดในอนาคต หลายครั้งเกิดความเข้าใจผิดว่าต้องยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายของการฝึกทักษะการยอมรับ แต่หากใครมีความกังวลกับอนาคต การฝึกสติ หรือการรู้ตัวจะเป็นทักษะที่เหมาะสมมากกว่า สำหรับบางสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เราอาจรับรู้ว่าเป็นสิ่งที่เกินจะรับไหว ไม่สามารถยอมรับได้ จึงต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการยอมรับนั้น ไม่ใช่การยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นดี แต่การที่เราไม่ยอมรับจะมีโอกาสเหนี่ยวนำให้เรากลับไปคิดถึงสิ่งนั้นซ้ำๆ การยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นจึงช่วยให้เราคิดถึงสถานการณ์นั้นน้อยลงหรือเมื่อเราคิดถึงมันเมื่อไหร่ อิทธิพลของสิ่งๆนั้น ก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ทำให้อารมณ์ต่างๆที่เคยถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง ก็ลดน้อยลงจนอยู่ในระดับที่เราสามารถควบคุมได้นั่นเอง Author ผศ. บุรชัย อัศวทวีบุญ อารมณ์ต่างๆจะค่อยๆบางเบาลงไปหากว่าเราไม่ได้ไปกระตุ้นมันซ้ำ ซึ่งก็จนกว่าเราจะยอมรับโดยสนิทใจว่ามันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง หากใครเคยประสบปัญหาที่อารมณ์ทางลบเช่น ความโกรธ ความเศร้าส่งผลต่อการใช้ชีวิตต่างๆ ทำให้ไม่สามารถทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้รู้ว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เพราะอารมณ์ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็จะส่งผลต่อเนื่องไปยังความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกาย หากอารมณ์เกิดขึ้นซ้ำๆก็จะส่งผลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจหรือมีอารมณ์อื่นเกิดขึ้นแทน การเบี่ยงเบนความสนใจเลยกลายเป็นหนึ่งในวิธีที่คนสามารถใช้เพื่อจัดการอารมณ์ได้ เช่น รู้สึกแย่ ก็หากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกดีทำ หรือหาสิ่งต่างๆที่สามารถดึงความสนใจไม่ให้ความรู้สึกแย่เกิดขึ้นมาได้ และเราก็เรียนรู้วิธีการเหล่านี้เพื่อจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นเงื่อนไขในการใช้ชีวิต เมื่อมีอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ก็อย่าไปสนใจมัน หาอย่างอื่นที่ทำแล้วสบายใจ แต่หลายครั้งวิธีการที่เคยใช้ได้ผลกลับไม่ได้ผล ซึ่งอาจเป็นเพราะอารมณ์ที่รุนแรงมากขึ้น หรืออารมณ์เหล่านั้นมีความถี่ของการเกิดเพิ่มมากขึ้น หรือเหตุผลอื่นใดก็ตาม เราจึงต้องกลับมาหาวิธีการรับมือกับอารมณ์ให้ดียิ่งขึ้น ในอดีตมีนักบำบัดชาวญี่ปุ่นชื่อ Morita ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องของการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่ง David Reynolds ในนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการจัดการอารมณ์ การจัดการความเครียด ผ่านหนังสือ ชื่อ Constructive living ที่อธิบายธรรมชาติของอารมณ์ไว้โดยสรุปคือ
เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น มันเป็นธรรมดาของมัน เราควบคุมไม่ได้ หน้าที่ของเราคือรู้ให้ทันว่ามันเกิดขึ้นแล้ว อย่าไปหงุดหงิดในการเกิดขึ้นของมัน อย่าไปกลัว อย่าไปกังวล หากมีสิ่งใดที่ต้องทำก็ทำต่อไป เพื่อให้งานในชีวิตประจำวันไม่เสียหาย เมื่อเวลาผ่านไปอารมณ์เหล่านั้นมันก็จะจางไป แต่เดี๋ยวมันก็มาใหม่ของมัน ความกลัว ความกังวลที่เกิดขึ้น ก็ให้รู้ไว้ว่าเป็นการกระตุ้นซ้ำให้เกิดอารมณ์เหล่านั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกัน จนกว่าเราจะยอมรับโดยสนิทใจว่ามันเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง Authorผศ. บุรชัย อัศวทวีบุญ ลูกน้อยอาละวาด (Temper tantrum) คือการร้องอาละวาด โวยวาย ล้มตัว ชักดิ้นชักงอ เป็นการแสดงความโกรธหรือไม่พอใจของเด็ก Tantrum เป็นพัฒนาการปกติของเด็ก บางคนอาจเป็นมากหรือน้อย แตกต่างกัน ซึ่งมักพบได้บ่อยหลัง 1 ขวบ จะพบมากขึ้นเมื่ออายุ 2-3 ปี (หรือที่เรียกกันว่า Terrible 2) และส่วนใหญ่มักจะดีขึ้นหลังอายุ 4 ปี สาเหตุของการ Tantrum หรือ อาละวาด มักเกิดมาจากการไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ แต่สื่อสารสิ่งที่ต้องการออกมาไม่ได้ หรือพยายามจะสื่อสารแล้วแต่ผู้ปกครองไม่เข้าใจ ซึ่งเกิดจากพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น ที่ยังพูดไม่คล่อง เช่น ต้องการนม, อยากเปลี่ยนแพมเพิส, เหนื่อยหรือง่วงมากเกินไป, อยากให้พ่อแม่สนใจทันที, อยากให้พี่มาเล่นด้วย เป็นต้น ในเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อยราว 3-4 ปี วัยก่อนเรียนที่สามารถสื่อสารได้ บอกความต้องการของตนเองได้ ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะเลิกอาละวาด เพราะเป็นช่วงวัยที่เด็กรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มีอำนาจ รู้และยืนหยัดว่าตนเองต้องการอะไร อย่างไรก็ตามเด็กยังต้องเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์หงุดหงิด ซึ่งการเรียนรู้ที่จะจัดการกับอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้น เป็นทักษะที่ต้องใช้เวลา และผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการฝึกทักษะด้วย จำไว้เสมอว่าการที่ ”เด็กเล็ก” อาละวาดหงุดหงิด ไม่ใช่การบอกว่าคุณเป็นผู้ปกครองที่แย่ แต่มันเป็นขั้นของพัฒนาการ ดังที่ Linda Rubinowitz นักจิตวิทยาคลินิก กล่าวไว้ "Tantrums help kids learn to deal with their negative emotions.” สิ่งที่ควรทำเมื่อเด็กร้องอาละวาด สิ่งแรกที่ควรทำคือ ตั้งสติ ก่อน ไม่ควรดุ หรือตำหนิทันที เพราะยิ่งจะทำให้เด็กอาละวาดรุนแรงขึ้น จากนั้นให้ประเมินว่าสาเหตุที่เด็กอาละวาดเกิดจากอะไร เช่น บางครั้งคุณต้องเตรียมของกินหรือที่นอนให้พร้อม เวลาเด็กหิวหรือง่วงนอน แต่หากเด็กอาละวาดจากเรื่องอื่นๆ สิ่งที่ควรทำได้แก่
สิ่งที่ควรทำหลังจากเด็กร้องอาละวาด เมื่อเด็กเริ่มสงบลงให้เข้าไปกอด ถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สะท้อนอารมณ์ เพื่อให้เด็กเข้าใจอารมณ์ของตนเองมากขึ้น แล้วชื่นชมเด็กว่า “ดีใจที่หนูจัดการอารมณ์ตัวเองได้นะ” จำไว้เสมอว่าการที่ ”เด็กเล็ก” อาละวาดหงุดหงิด ไม่ใช่การบอกว่าคุณเป็นผู้ปกครองที่แย่ แต่มันเป็นขั้นของพัฒนาการ |
ผู้เขียนนักจิตวิทยาคลินิกจากรีมายด์ Archives
October 2024
Categories |